วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Wiki ระบบสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

วิกิพีเดีย คือ อะไร

วิกิพีเดียเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 ในฐานะเว็บเสริมของนูพีเดีย (Nupedia) สารานุกรมปิดที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งปิดตัวไปเมื่อปี 2546 ปัจจุบันวิกิพีเดียบริหารโดยองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรชื่อ มูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) ณ สิ้นเดือนมกราคม 2549 วิกิพีเดียมีบทความกว่า 3.2 ล้านเรื่อง ครอบคลุมกว่า 200 ภาษา ในจำนวนนี้กว่า 941,000 เรื่องเป็นบทความภาษาอังกฤษ มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนกว่า 846,000 คนทั่วโลก เป็นหนึ่งใน 35 เว็บไซด์ที่มีผู้ใช้สูงที่สุดในโลก ชื่อเสียงของวิกิพีเดียก่อให้เกิด “โครงการพี่น้อง” หลายโครงการ และได้รับการกล่าวถึงในสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อกังขาว่าเนื้อหาของวิกิพีเดียมี “ความถูกต้อง” และ “คุณภาพ” ดีเพียงใด โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าโครงการนี้เรียกตัวเองว่าเป็น “สารานุกรม” แต่ เปิดให้ทุกคนแก้ไขต่อเติมเนื้อหาเมื่อใดก็ได้นั้น เป็นประเด็นใหญ่ที่ถกเถียงกันมาช้านาน มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่วิจารณ์ว่า เนื้อหาในวิกิพีเดียมีคุณภาพต่ำกว่าสารานุกรมพาณิชย์เช่น Britannica และ มีข้อผิดพลาดมากมาย วิกิพีเดียยังมีปัญหาจากเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ คือคัดลอกเนื้อหาที่อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์มาลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ก่อน นอกจากนั้น นักคิดบางคนที่เป็นหัวข้อของบทความในวิกิพีเดียที่ลงประวัติของเขาไม่ ถูกต้อง แสดงความไม่พอใจว่า วิกิพีเดียทำให้คนไม่มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเขียน เพราะสามารถเขียนได้โดยไม่เปิดเผยตัวหรือสร้าง account ทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถเอาผิดคนเขียนได้ในแง่กฎหมายWikipedia ก็คือ เอนไซโคพีเดีย หรือสารานุกรมบนเว็บ แต่จุดสำคัญของ Wikipedia คืออนุญาตให้คนทั่วไปสามารถเขียน หรือแก้ไขข้อความบน Wikipedia ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดูแลระบบ

วิกิพีเดียภาษาไทยก็ไม่น้อยหน้าเวอร์ชั่นอังกฤษ แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มเมื่อปี 2546 สารานุกรมไหนบ้างที่รวบรวมคำอธิบายระบบโซตัส การ์ตูนญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งจีฉ่อย ร้านโชห่วยชื่อดัง ไว้ในที่เดียวกัน และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือให้คุณอ่าน แก้ไข และต่อเติมได้ตามอำเภอใจ วิกิพีเดียก่อตั้งโดยจิมมี่ เวลส์ (Jimmy Wales) อดีต นักค้าอนุพันธ์ทางการเงินในชิคาโก ผู้ให้สัมภาษณ์ว่า รายได้จากอาชีพนั้นทำให้เขาสามารถ เลี้ยงดูลูกเมียได้อย่างสบายตลอดชีวิต และทำให้เวลส์สามารถผันตัวมาทำในสิ่งที่จิตสำนึกภายในเรียกร้อง: สร้างสารานุกรมเสรี โดยใช้อาสาสมัครล้วนๆ และโลกไซเบอร์เป็นพื้นที่ทำงาน

ขณะนี้วงการศึกษาในประเทศอเมริกา มีการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบมาพัฒนาการเรียนการสอนเช่น Podcast, Blog, Game และ Simulation ต่างๆ และนำ Wiki มาใช้ด้วยในลักษณะ Wikipedia และ Wikibook โดยเฉพาะ Wikibook นั้น ครูอาจารย์สามารถให้นักเรียนเข้ามาร่วมเขียนงาน เป็นหนังสือเล่มเดียว ให้แต่ละคนเขียนคนละ 1 บาท แล้วนำมาร่วมกันอ่านและแก้ไขงานของกันและกัน เป็นการสร้างความร่วมมือในชั้นเรียน (Learning Collaboration) เสริมสร้างความรู้สึกรับผิดชอบต่องานของตนเอง และต่อส่วนรวมในห้องเรียนด้วย ที่สำคัญ ระหว่างการทำ Wikibook นั้น เราสามารถเปิดให้บุคคลภายนอกอ่านงานของเราได้ โดยอนุญาตให้เขาเข้ามาร่วมแก้ไขงานของเราด้วยหรือไม่ก็ได้

อีกตัวอย่างหนึ่งของ wiki คือ โครงการคลังปัญญาไทย" ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาแหล่งความรู้ขนาดใหญ่ โดยอาศัยสื่ออินเทอร์เน็ต เนื่องจากเป็นสื่อที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ใน ขณะเดียวกันก็ยังเปิดโอกาส ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลความถูกต้องของข้อมูล โดยแบ่งข้อมูลออกเป็นสองส่วนหลัก คือ คลังสะสมองค์ความรู้ คลังสะสมองค์ความรู้ เป็นข้อมูลองค์ความรู้ จากแหล่งที่ได้รับการตรวจสอบ ความถูกต้องและความสมบูรณ์ จากผู้ให้ข้อมูลมาในระดับหนึ่งแล้ว อาทิ บทความ บทความเชิงวิชาการ ตำราเรียนเก่า วิทยานิพนธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมถึงสารานุกรม บทความจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ผู้เขียนหรือหน่วยงานที่ส่งบทความ เข้าร่วมจะได้รับการประกาศชื่อและประวัติเพื่อเป็นเกียรติ และแสดงความขอบคุณ ในฐานะผู้ให้ความรู้กลับคืนสู่สังคม

สารานุกรมต่อยอด (Wiki) สารานุกรม ต่อยอด ที่อนุญาตให้เปิดหัวข้อให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาปรับปรุงแก้ไข หรือเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ๆ เองได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้ที่เข้ามาให้ข้อมูล สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเองได้ เพื่อให้แหล่งข้อมูลนี้ สามารถขยายตัวได้เร็ว อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่กว้างขวาง หลากหลายและมีคุณภาพ โดยการเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ ในความรู้สาขาต่างๆในเชิงสร้างสรรค์ จาก แนวคิดและนวัตกรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คณะกรรมการบริหาร โครงการคลังปัญญาไทยจึงได้รับเกียรติอย่างสูงจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ดำรงตำแหน่งประธานโครงการ ตลอดจนการได้รับความร่วมมือจากภาคีหลักอื่น ๆ อีกมาก อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เป็นต้น

การพัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร......... เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข ในสังคมฐานความรู้ บนพื้นฐานความคนไทย อะไรคือแนวทางที่ถูกต้องดีงาม ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม จริยธรรม ที่ก้าวล้ำด้วยกระบวนการคิด พิชิตปัญหาสังคมด้วยความมีค่านิยมร่วมในสังคม ร่วมปลูกสร้างความเป็นมนุษย์ที่พอเพียง รักการอ่าน รักการเขียน เพียรแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ มีความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน มีเหตุผล รักวัฒนธรรมไทย สนใจภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมใจอนุรักษ์และพัฒนา..... สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ให้ อย่าเป็นเพียงผู้รับที่เห็นแก่ตัว สังคมแห่งการเรียนรู้จึงจะนำพาสร้างสังคมสันติสุข ร่มเย็นในระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น