1. บทนำ : ”วิกิ” กับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ปัจจุบัน การจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปของ e-learning เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมๆกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ สถานศึกษาในระดับต่างๆได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เรียนรู้ ไม่ว่าจะในรูปแบบของเครื่องพีซี เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Damand) ฯลฯ เป็นต้น
องค์ประกอบหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปของ e-learning ก็คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาและบริหารระบบ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงวิกิซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่รองรับการบริหารจัดการสารานุกรมออนไลน์ ที่ถือว่าเป็นซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งที่เหมาะสมในการมาประยุกต์ใช้เพื่อการจัด กระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา
2. รู้จักตัวโปรแกรมและลักษณะการทำงาน
วิกิ หรือ วิกี้ (wiki) เป็นเว็บไซต์แบบหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอซที่ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เรียกว่า MediaWiki เป็นซอฟแวร์ประเภท GNU General Public License (GPL) เผยแพร่ภายใต้ข้อกำหนดของ GNU General ซึ่งก็คือสัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์หรือไลเซนส์แบบหนึ่งที่สงวนลิขสิทธิ์ ของซอฟต์แวร์นั้น แต่อนุญาตให้บุคคลใดๆทำซ้ำ เผยแพร่ และ/หรือ ดัดแปลงซอฟต์แวร์นั้นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและโดยเสรี
3.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้แบบ Wiki
ด้วยลักษณะความง่ายในการสร้างและแก้ไข ตลอดจนสามารถเข้าถึงโดยบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดโครงการพัฒนาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้แบบวิกิขึ้นมาหลากหลาย รูปแบบ และขยายเป็นเครือข่ายอย่างรวดเร็ว รูปแบบวิกิแต่ละประเภทสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างกิจกรรมการ เรียนการสอนทั้งในระบบชั้นเรียนปกติและในระบบ e-learning ได้เป็นอย่างดี ได้แก่
1) วิกิตำรา ตำราและคู่มือ http://th.wikibooks.org เป็นโครงการหนึ่งของวิกิมีเดีย เพื่อที่จะก่อสร้างห้องสมุดเสรีขึ้นที่ใครก็สามารถแก้ไขได้2) วิกิคำคม http://th.wikiquote.org แหล่งรวบรวมคำคม สุภาษิตและคำพังเพยจากทั่วโลกในทุกภาษา
3) วิกิซอร์ซ เอกสารต้นฉบับ http://th.wikisource.org แหล่งรวบรวมและจัดเก็บเอกสารต้นฉบับที่สามารถนำไปอ้างอิงได้ เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติ เอกสารทางราชการอื่น ๆ
4) วิกิพจนานุกรม http://th.wiktionary.org แหล่งรวบรวมและเก็บคำศัพท์
5) วิกิข่าว แหล่งข่าวเนื้อหาเสรี http://th.wikinews.org
6) วิกิสปีซีส์ สาระบบอนุกรมวิธาน http://species.wikimedia.org
7) คอมมอนส์ แหล่งรวบรวมแบ่งปันสื่อ http://commons.wikimedia.org ให้บริการคลังข้อมูลกลางสำหรับภาพ ดนตรี เสียง และวีดิทัศน์ลิขสิทธิ์เสรี และอาจรวมถึงข้อความและคำพูด เพื่อใช้ในหน้าเอกสารในโครงการต่าง ๆ ของวิกิมีเดีย ภาพทุกภาพที่เก็บในคอมมอนส์จะสามารถเรียกใช้ได้ จากหน้าเอกสารของโครงการวิกิมีเดียทุกโครงการ
8) เมต้าวิกิ ศูนย์กลางโครงการวิกิมีเดีย http://meta.wikimedia.org
เนื้อหาข้อความทั้งหมดในวิกิพีเดียเป็นเนื้อหาเสรี งานสมทบที่ส่งมายังวิกิพีเดียทุกชิ้นถูกคุ้มครองโดยสัญญาอนุญาตเอกสารเสรี ของ GNU "GNU Free Documentation License" หรือ GFDL ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาอนุญาตชนิด "copyleft" ที่ให้สิทธิ์นำเนื้อหาไปแจกจ่ายซ้ำ, ดัดแปลงต่อยอด, และนำไปใช้งานได้อย่างเสรี ทั้งนี้รวมถึงการใช้งานเชิงพาณิชย์ด้วย สัญญาอนุญาตตัวนี้ อนุญาตให้ผู้ร่วมเขียนวิกิพีเดียแต่ละคนยังคงมีสิทธิ์ในงานที่ตนเอง สร้างสรรค์ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปต่อยอดและแจกจ่ายงานต่อยอดนั้นต่อได้ เพียงมีเงื่อนไขว่าจะต้องให้เครดิตกับเจ้าของงานดั้งเดิม และงานต่อยอดนั้นจะต้องใช้สัญญาอนุญาต GFDL เช่นเดียวกัน ด้วยสัญญาอนุญาตตัวนี้ ทำให้รับประกันได้ว่าวิกิพีเดียจะถูกแก้ไขได้อย่างเสรีและอย่างเท่าเทียมกัน การสมทบงานของผู้เขียนแต่ละคน จะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลตราบนานเท่านาน เคยมีผู้กล่าวถึงการใช้ GFDL ไว้ว่า “การรับประกันเสรีภาพ เป็นแรงจูงใจสำคัญในการทำงานสารานุกรมเสรี”
4. การประยุกต์ใช้ Wiki เพื่อจัดการศึกษา
4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอนในระบบ e-learning ก็คือการใช้เว็บไซต์ในโครงการต่างๆของวิกิมีเดียที่กล่าวมาในหัวข้อที่แล้ว โดยเฉพาะ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เพื่อการสืบค้นข้อมูลในการเรียนรู้ เนื่องจากโครงการต่างๆของวิกิเป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหาด้านต่าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้ หรือผู้มีประสบ การณ์ เนื้อหาต่าง ๆ มีการตรวจสอบโดยผู้เขียนหลายคนร่วมมือกัน ดังนั้น เนื้อหาที่ได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีความถูกต้อง สมบูรณ์ ดังนั้น แหล่งข้อมูลในเว็บไซต์ประเภทวิกิ จึงสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอ้างอิงในการเรียนการสอนแบบ e-learning ได้
4.2 เป็นเครื่องมือหรือสื่อในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในระดับห้องเรียน ครูผู้สอนสามารถใช้เว็บไซต์ที่ใช้โปรแกรมมิเดียวิกิ ในการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ- การมอบหมายงานเป็นกลุ่ม Workgroup Assignment
- การเรียนการสอนแบบโครงงาน Project-Based Learning
- การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ Constructivist Paradigm
- การเรียนรู้ร่วมกันหรือการเรียนแบบร่วมมือกันCooperative/Collaborative Paradigm
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่กล่าวมาเน้นการใช้ทักษะการบันทึกข้อมูล ทักษะการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน ทักษะการทำงาน และกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่มีการเสวนาแลกเปลี่ยน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนเหล่านี้โดยผ่านระบบเครือข่ายของ คอมพิวเตอร์ทั้งในและนอกห้องเรียน
ในการนำวิกิมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคต่างๆข้างต้น สถานศึกษาจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมมิเดียวิกิบนเซิร์ฟเวอร์ของโรงเรียนที่มี ความสามารถสูง และจำเป็นต้องมีเครือข่ายที่ค่อนข้างเสถียรเพื่อรองรับการใช้งานข้อมูลบน เซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก ทั้งจากภายในและภายนอกสถานศึกษา ในบางครั้งสถานศึกษาจำเป็นต้องจำกัดสิทธิการใช้ ด้วยการตั้งค่าวิกิบน เซิร์ฟเวอร์ ให้ผู้ใช้ที่เป็นครูผู้สอนหรือนักเรียนจะต้องล็อกอินเพื่อแก้ไข หรือเพื่ออ่านบางหน้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแก้ไขจากบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการ สอนนั่นเอง
การจัดการเรียนการสอนโดยเทคนิคต่างๆที่มีวิกิมารองรับนี้ สอดคล้องกับการจัดกาเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ผู้เรียนก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนรูปแบบนี้ประสบความสำเร็จ คือผู้เรียนต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ กระหายความรู้ หากผู้เรียนขาดความสนใจ เว็บไซต์ก็จะไม่มีข้อมูลอัพเดทหรือเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือไม่มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆโดยผู้เรียนนั่นเอง
4.3 ประยุกต์ใช้ในงานสำนักงานของสถานศึกษา(e-office) เนื่องจากการสร้างและแก้ไขหน้าวิกิไม่ยุ่งยาก จึงเหมาะที่จะถูกนำมาใช้ในงานสำนักงานของโรงเรียน โดยเฉพาะในงานสารบรรณและงานธุรการ ยกระดับงานสำนักงานของสถานศึกษาให้เป็น Paperless Office ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้ เพื่อป้องกันการแก้ไขของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
4.4 ใช้ เป็นเครื่องมือในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management) การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
สถานศึกษาสามารถนำวิกีมาประยุกต์ใช้ใน ส่วนของการดำเนินการในข้อ 5 และ 6 ได้ เป็นเครื่องมือเพื่อให้บุคลากรสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น งานที่สามารถนำวิกิมาประยุต์ใช้ได้อย่างแพร่หลายอย่างเช่น ในการจัดทำแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ คลังข้อสอบและงานวิจัยในชั้นเรียน
5.บทสรุป
การ นำวิกิมาประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการศึกษาที่กล่าวมาให้เกิดประสิทธิภาพ สถานศึกษาควรคำนึงถึงความพร้อมทั้ง 3 ด้าน คือ คน เทคโนโลยีและกระบวนการจัดการ
ด้านของคน สถานศึกษาต้องจัดให้การอบรมบุคลากรที่มีอยู่ทั้งครูผู้สอน เจ้าหน้าที่และนักเรียน ให้สามารถเข้าถึงการใช้โปรแกรมมิเดียวิกิ ซึ่งจะเห็นว่าโปรแกรมวิกิง่ายต่อการใช้งานเมื่อเทียบกับโปรแกรมผลิตสื่อการ เรียนการสอน(CAI) หรือโปรแกรมการจัดการ e-learning ผู้ใช้ที่มีความรู้ในโปรแกรมออฟฟิศเบื้องต้นก็สามารถเรียนรู้วิกิได้ด้วย ตนเอง ไม่ยากเย็นนัก
ด้านของเทคโนโลยี สถานศึกษาจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมมิเดียวิกิบนเซิร์ฟเวอร์ของโรงเรียนที่มี ความสามารถสูง และจำเป็นต้องมีเครือข่ายที่ค่อนข้างเสถียรเพื่อรองรับการใช้งานข้อมูลบน เซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก
ด้านของกระบวนการจัดการ สถานศึกษาต้องวางระบบเพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึงและใช้งานโปรแกรมวิกิได้ อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดสิทธิการใช้งานที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของบุคคลในสถานศึกษา จัดระบบการฝึกอบรม วางระบบประเมินการใช้งาน และนิเทศติดตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น