วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การประยุกต์ใช้เทคโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา


ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโป่ง
กับ การประยุกต์ใช้เทคโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา

ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถประมวลผลข้อมูลข่าวสารได้เร็ว และสื่อสารกันได้สะดวก เทคโนโลยีดังกล่าว จึงเรียกรวมว่า ICT - Information and Communication Technology ไอซีที มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะการประยุกต์ในระบบการศึกษา

ความหมาย ICT

ICT ย่อมาจาก “Information and Communication Technology” หมายถึง “ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง แปลง จัดเก็บ ประมวลผล และค้นคืนสารสนเทศ
I ย่อมาจากคำว่า Information คือ ระบบสารสนเทศ
C ย่อมาจากคำว่า Communication คือ การสื่อสาร
T ย่อมาจากคำว่า Technology คือ เทคโนโลยี ในที่นี้คือ คอมพิวเตอร์

ความสำคัญของ ICT

การใช้ ICT ใน การจัดการเรียนรู้ ความหมายโดยรวม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล พ. ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยให้ความสำคัญ กับผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ให้ความสำคัญสูงสุดในกระบวนการการปฏิรูปการเรียนรู้ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น ปลูกฝังคุณธรรมในทุกวิชา มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง

ปัจจุบันพบว่ากระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่อง ICT จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2550 – 2554 ดังนี้ “ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐาน สากล” เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรม

ลักษณะการใช้ ICT

· การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
· การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
· การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง
บทบาทของสถานศึกษาในการใช้ ICT เพื่อจัดการเรียนรู้

1. กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT
2. จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT
3. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
4. สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง
5. ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู

สถานศึกษาที่มุ่งหวังจะนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่อไปนี้
1. มีความร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน
2. ติดต่อกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เชื่อมโยงโรงเรียนเข้ากับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ขจัดปัญหาเรื่องพรมแดน สถานที่และเวลา
5. นำศักยภาพของสื่อ ICT มาช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้

ดังนั้น การจะพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริม พัฒนาโครงสร้าง ICT ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค ทั้งเขตเมือง และชนบท รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ ICT ของ ประชากร ทั้งในการดำรงชีวิต และในการทำงาน ซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องศึกษา และหาวิธีการที่จะกระตุ้นเพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการใช้ ICT

รูปแบบและวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน ครู จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียน ให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการ เรียนรู้ที่ควรจะเป็น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา เช่น การ เรียนรู้แบบออนไลน์เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต หรืออินทราเน็ตเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การที่นักเรียนที่เรียนรู้ได้ช้า สามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทันเพื่อนนักเรียน ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพในการ “เรียนรู้ด้วยตนเอง” (independent learning) ได้มากขึ้นจากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์

1. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

หลักการที่สำคัญคือเป็นการพัฒนา ICT เพื่อการบริหารจัดการ ผ่านทาง website ในลักษณะ web Application ตามนโยบายของกระทรวง ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน และนโยบายของภาค เพื่อให้สามารถนำเอา ICT มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษานอก โรงเรียน ด้วยการพัฒนาบุคลากร ในเรื่องต่อไปนี้
1.การใช้งาน Google Apps. และการประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรของสถานศึกษา ให้สามารถใช้ Google Apps. ได้
2.การใช้งานระบบ e-Budget เป็นการใช้เพื่อการบริหารเพื่อควบคุมระบบงบประมาณ
3.การใช้งานระบบ e-Document เพื่อการจัดการเกี่ยวกับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิก์
4.e-Library ใช้โปรแกรมระบบ PLS เพื่อจัดการระบบค้นหา ยืม คืน หนังสื่อในห้องสมุด
5.อื่นๆ

2. การพัฒนา Website ของสถานศึกษา และประยุกต์ใช้งานร่วมกับ Application อื่นๆ

หลักการที่สำคัญของกิจกรรมนี้คือ การพัฒนา website ของสถานศึกษาให้พร้อมที่จะรองรับการทำงานของระบบต่างๆ ผ่านทาง Internet (Web Application) โดยมีเป้าหมาย ที่สำคัญ 3 ประการคือ มี website มีเนื้อหาสาระ ข้อมูลข่าวสารและข้อมูลความรู้ ใน website และ มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย โดยมีกิจกรรมที่จะดำเนินการดังนี้
3.1 จัดหา เช่า พื้นที่ Web Hosting เพื่อสร้าง Website ของสถานศึกษา
3.2 ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง คัดเลือก CMS (Content Management System) เช่น Joomla Mambo เป็นต้น ใช้เป็นระบบขับเคลื่อน Website ของสถานศึกษา
3.3 จัดระบบบริหารจัดการ Website ของสถานศึกษา

3. ระบบ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต

หลักการที่สำคัญของกิจกรรมนี้คือ การสร้างกลไก ที่จะช่วยผลักดันและขับเคลื่อนให้การพัฒนา ICT พื่อสนับสนุนการเรียนรู้และส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
3.1 Blog เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการบริหารจัดการเรียนรู้
3.2 วางแผนการพัฒนา ICT ในระดับภาค
3.3 ติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการดำเนินงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น