วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

(5)สังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552-2556 (5)

ยุทธศาสตรที่ 6: การใช ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันอย่างยั่งยืน
มีวัตถุประสงคในการสงเสริมภาคการผลิตของประเทศใหเขาถึงและสามารถใชประโยชนจาก ICT เพื่อกาวไปสูการผลิตและการคาสินคาและบริการ ที่ใชฐานความรูและนวัตกรรมและเปนมิตรกับ สิ่งแวดลอม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแขงขันของผูประกอบการ โดยการสรางคุณคาของสินคา และบริการ (Value Creation) และมูลคาเพิ่มในประเทศ เพื่อพรอมรองรับการแขงขันในโลกการคาเสรี ในอนาคต โดยใหความสําคัญเปนพิเศษกับการพัฒนาภาคการผลิตและบริการที่ไทยมีศักยภาพ เพือสรางรายไดเขาประเทศ ไดแก ภาคการเกษตร การบริการสุขภาพ และการทองเที่ยว รวมถึงการพัฒนาผูประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก และวิสาหกิจชุมชน โดยมีมาตรการที่สําคัญประกอบดวย
(1) สรางความตระหนักและพัฒนาขีดความสามารถดาน ICT ของผูประกอบการ
เพื่อใหสามารถนําไปใชประโยชนในการประกอบธุรกิจ รวมถึงนํา ICT ไปใชในการ
พัฒนาและบริหารจัดการระบบโลจิสติกส ใหมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(2) เสริมสรางความเชื่อมั่นในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส โดยการเรงรัดการ
ออกกฏหมายที่ยังอยูในระหวางกระบวนการพิจารณาใหมีการประกาศใชโดยเร็ว และ
สรางกลไกใหการบังคับใชฎหมายที่มีในปจจุบันและที่จะมีในอนาคตมีประสิทธิภาพ ่ และประสิทธิผล รวมถึงสรางความรูความเขาใจแกประชาชน และผู้ประกอบการ
เพื่อใหเกิดความเชื่อมั่นในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส และสรางความเขมแข็ง
ของกระบวนการคุมครองผูบริโภค
(3) สงเสริมการนํา ICT มาใชในภาคการผลิตและบริการที่เปนยุทธศาสตรของ
ประเทศ และไทยมีความไดเปรียบ โดยเฉพาะการเกษตร การบริการดานสุขภาพ
และการทองเที่ยว โดยมุงเนนที่การจัดทําฐานขอมูลที่อิงตามมาตรฐานสากล และการ
เผยแพรขอมูลใหกับกลุมคนที่เกี่ยวของไดใชในการประกอบอาชีพ การตลาด และการ
ประชาสัมพันธ ทั้งนี้ โดยใชประโยชนจากภูมิปญญาทองถิ่น วัฒนธรรมไทย และ
เอกลักษณของคนไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑและบริการ
(4) ยกระดับศักยภาพในการแขงขันของผูประกอบการขนาดกลางและขนาดยอม
(SMEs) และวิสาหกิจชุมชน โดยมุงเนนให SMEs เขาถึงและนํา ICT ไปใชในการทํา
ธุรกิจ และสรางแรงจูงใจในการลงทุนดาน ICT พรอมทั้งสงเสริมการทํา e-commerce
ของสินคาชุมชน (OTOP) เพื่อสนับสนุนการนําภูมิปญญาไทยและวัฒนธรรมทองถิ่น
มาใชในการสรางสรรคคุณคาของสินคาและบริการทีมีโอกาสทางการตลาดสูง โดย
การตอยอดขยายผลในเชิงพาณิชย โดยใชประโยชนจากโครงสรางพื้นฐาน ICT ที่มีใน
ชุมชุน อาทิ ศูนยบริการสารสนเทศชุมชน อบต.
(5) สงเสริมการนํา ICT มาใชในมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อลดคาใชจาย และ
เพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันทั้งในระดับองคกรและประเทศอยางยังยืน ่
โดยสงเสริมงานวิจัยที่เกี่ยวกับการนํา ICT มาใชในการประหยัดพลังงาน รวมทั้ง
สงเสริมและ/หรือ นํารองโครงการที่สามารถลดการใชพลังงานน้ํามันอยางเปนรูปธรรม
เชน โครงการสงเสริมการประชุมทางไกลผานระบบอินเทอรเน็ตความเร็วสูง
การพัฒนาระบบขนสงอัจฉริยะ เปนตน

ทั้งนี้ ในการแปลงแผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ไปสูการปฏิบัติ เพื่อใหเกิดผลสําเร็จดังเปาหมายที่ตั้งไวนั้น จําเปนตองพัฒนาโครงสรางการบริหารจัดการและระบบการติดตามประเมินผลเพื่อใหเปนเครื่องมือในการบริหารแผนฯ และการประเมินผลอยางมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางที่สําคัญประกอบ ดวย
• การจัดใหมีหนวยงานผูรับผิดชอบภายในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการผลักดันวาระดาน ICT ของประเทศ รวมถึงการจัดทํานโยบาย/แผนแมบท การกํากับดูแลและผลักดันแผนสูการปฏิบัติ รวมถึงการจัดตั้งคณะทํางานรายยุทธศาสตรประกอบดวยบุคลากรภายในกระทรวงและบุคลากรของกระทรวงอื่นๆ ที่ เกี่ยวของ
• การสรางกลไกในการทํางานรูปแบบตางๆ เชน กลไกเพื่อใหเกิดความรวมมือและการบูรณาการ ระหวางหนวยงานภาครัฐที่เกียวของกับการพัฒนา ICT ของประเทศ กลไกในการจัดสรรทรัพยากรอยางเหมาะสม โดยเชื่อมโยงระหวางแผนงาน แผนเงิน และแผนคน และการพัฒนากรอบและหลักเกณฑการพิจารณาแผนงาน/โครงการของสวนราชการรวมกันระหวางหนวยประสานงานกลางของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จะจัดตั้งขึ้น
• การจัดใหมีคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวง และของหนวยงานในสังกัด รับผิดชอบในการบริหารแผนในแตละระดับ โดยใหผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) เปนประธานคณะกรรมการฯ และใหคณะกรรมการฯ รายงานผลการดําเนินงานตอคณะกรรมการฯ ในระดับสูงขึ้นไป
ทุก 6 เดือน
• การเปดโอกาสใหภาคเอกชนเขามามีสวนรวมในการนําเสนอและใหความเห็นดานการพัฒนา ICT ตอรัฐบาล รวมกับรัฐในการกําหนดมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรดาน ICT ตลอดจนเปนตัวแทนภาคเอกชนในการประสานนโยบายและการทํางานรวมกับภาครัฐ เพื่อผลักดันการทํางานแบบเปนหุนสวนระหวางภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) เพิ่มมากขึ้น
• การสรางตัวชี้ดําเนินการตามแผนแมบทฯ เพื่อใชประโยชนในการติดตามประเมินผล และจัดทําฐานขอมูลรายการดัชนีชี้วัดหลักของการพัฒนา ICT ของประเทศ (ICT core indicators) และตัวชีวัดความสําเร็จของการพัฒนาในทุกระดับ รวมทั้งการสรางเครือขายเชื่อมโยงฐานขอมูลโดยกําหนดใหหนวยงานทีรับผิดชอบแตละดัชนีปรับปรุงขอมูลใหทันสมัยตลอดเวลา และเชื่อมโยงขอมูลไปยังหนวยงานกลางเพื่อเผยแพรใหหนวยงาน/ประชาชนรับทราบทั่วไป รวมทั้งใหมีการศึกษาติดตามการพัฒนาดัชนี ดังกลาวในระดับนานาชาติอยางตอเนื่อง เพื่อปรับปรุงรายการรวมทั้งการใหคํานิยามดัชนีชี้วัดของประเทศไทยใหเหมาะสมตามกาลเวลา
• ตองมีการติดตามประเมินผลอยางเปนระบบและมีความตอเนื่อง โดยใหมีการติดตามความกาวหนา (monitoring) ของการดําเนินการตามแผนงาน /โครงการทุกป และมีการประเมินผลอยางเปนระบบ (evaluation)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น